จึงมีการวิเคราะห์กันว่าปัญหานี้มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง โดย Madeleine A Fugère นักวิชาการปริญญาเอก ด้านจิตวิทยาและความสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา
1.ภรรยาของลูกชายไม่ใช่คนที่แม่สามีเลือกไว้ให้ โดยเธอระบุว่า มนุษย์ชายหญิงจะถูกใจกันจากรูปลักษณ์ภายนอก นิสัยใจคอของอีกฝ่าย ความเข้าอกเข้าใจกัน ขณะที่แม่ของสามีจะมองไปที่ภูมิหลังของผู้ที่จะมาเป็นลูกสะใภ้ พื้นฐานครอบครัว การศึกษา สถานะของครอบครัว หน้าที่การงาน ซึ่งเมื่อลูกสะใภ้ไม่ได้ตรงกับใจก็อาจนำไปสู่ความไม่ลงรอยระหว่างกันได้ ซึ่งหลายครั้งมักแสดงออกมาทั้งในลักษณะเหน็บแนม เปรียบเทียบ เป็นต้น
2.ลูกสะใภ้มีเสน่ห์มากเกินไป
แม่สามีบางคนมองว่าการที่ลูกสะใภ้ของตนสวย มีเสน่ห์ ไปจนถึงมีความเป็นกันเอง คุยเก่ง เข้าถึงง่าย กับคนอื่นๆ เกินไปอาจทำให้แม่สามีกลัวว่าจะมีคนอื่นๆ เข้ามาเป็นทางเลือกที่ดีกว่าลูกชายของตนเอง
3.แม่สามีคิดว่าลูกสะใภ้มาแย่งเวลาและความสนใจจากลูกชาย
แม่สามีบางคนอาจคิดว่าลูกชายเอาใจใส่น้อยลงซึ่งงานวิจัยบอกว่าผู้หญิงที่อายุมากมีแนวโน้มที่จะมีประสบการณ์ในการถูกละเลยเพราะมีความสัมพันธ์แย่กับลูกสะใภ้ ซึ่งแม่สามีจะกังวลว่าเธอถูกละเลยจากลูกชายเพราะไปสนใจภรรยามากกว่า
ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง เรื่อง ปัญหาความสัมพันธ์แม่สามี-ลูกสะใภ้ในสังคมไทยตามการรับรู้ของลูกสะใภ้ โดย หญิง บัณฑิตตระกูล นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแบ่งกลุ่มลูกสะใภ้ออกเป็น 2 กลุ่มคือ หลุ่มที่อาศัยอยู่กับแม่สามี และ กลุ่มที่แยกครอบครัวออกมา พบว่า สาเหตุใหญ่ 3 อันดับแรกที่ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแม่สามีกับลูกสะใภ้ในสังคมไทย คือ 1.แม่สามีกับลูกสะใภ้ต้องอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน 2.แม่สามีกับลูกสะใภ้มีพื้นเพครอบครัวที่แตกต่างกัน และ 3. แม่สามีก้าวก่ายชีวิต ครอบครัวของลูกสะใภ้
ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทั้งการสร้างความเครียดให้กับ "คนกลาง" คือสามี เพราะทำให้สามีวางตัวไม่ถูกเมื่ออยู่ต่หน้าแม่และภรรยา ในขณะเดียวกันทำให้เกิดความไม่ราบรื่นในชีวิตสมรสของลูกสะใภ้
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยพบว่าในประเทศเกาหลี ผู้หญิงที่สมรสแล้วและอาศัยอยู่ในครอบครัวของสามีตลอดช่วงที่สมรสอยู่
"มีอัตราการหย่าร้างสูงกว่าผู้หญิงที่สมรสแล้วอาศัยอยู่ในครอบครัวของสามีเป็นครั้งคราว 90%"