ไขประเด็นดราม่า ผู้ป่วย HIV ที่ผลตรวจ U=U มีเพศสัมพันธ์ไม่ใส่ถุงยางได้จริงหรือ?


ไขประเด็นดราม่า ผู้ป่วย HIV ที่ผลตรวจ U=U มีเพศสัมพันธ์ไม่ใส่ถุงยางได้จริงหรือ?

ช่วงนี้มีกระแสดราม่าหนึ่งในโลกออนไลน์ (พีท คนเลือดบวก) ที่กลายเป็นประเด็นให้จับตามองคือผู้ป่วยเอดส์หรือที่ติดเชื้อ HIV รับประทานยาต่อเนื่องจนผลตรวจเลือด U=U แล้วนั้นสามารถมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ใส่ถุงได้จริงหรือไม่?


สด ไม่สด

ประเด็นแรก ไม่ควรสด งานวิจัย ไม่ได้ออกแบบมาให้เรากล้าสด งานวิจัยออกแบบมาเผื่อเรากันอย่างดีแล้วเกิด "พลาด"

ประเด็นสอง แม้รับยาต้านไวรัส แต่เชื้อไม่หมดนะ ปัจจุบันคือต่ำกว่า 20 copies/ml นี่คือในเลือดเท่านั้น ประมาณปริมาณทั้งหมดก็คูณ 5000 คือเลือด 5 ลิตร และยังมีเชื้อในต่อมไทมัส ในเซลล์แอสโตรไซต์ในสมอง และ เนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่ส่งเข้ากระแสเลือดได้อีก

ประเด็นสาม แม้ว่าจะเป็นคู่ที่ติดเอชไอวีทั้งคู่ ได้ยาต้านทั้งคู่จนควบคุมได้ดีก็ไม่ควรสด เพราะเชื้ออาจถ่ายเทถึงกัน และกลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยาได้

สรุปคือ ไม่ว่าคุณจะติดหรือไม่ติดเชื้อ หากไม่ได้มั่นใจในคู่นอนระดับประวัติเคลียร์และผลเลือดเคลียร์ ในทุก ๆ เวลา ต้องสวมถุงยางเสมอ (เพราะคู่คุณอาจพลั้งใจในบางเวลาแต่ไม่ได้มาบอกคุณ)

ยังยืนยันคำกล่าวนี้ "ยืดอก พกถุง"

อย่าหลงประเด็น U = U

ความคิดที่ว่า undetectable HIV คือ untransmittable ถ้าเชื้อในตัวน้อยคือไม่ติด หลายคนอ้างงานวิจัย PARTNER ทั้ง partner 1 (ต่างเพศและเพศเดียวกัน) ต่อเนื่องไปยัง partner 2 (เฉพาะชายรักชาย) ผมอยากจะมาย้ำวัตถุประสงค์และลักษณะงานวิจัยให้ดู ว่าที่จริงคืออะไร

1. งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยแบบเฝ้าติดตาม (observation) ในคนที่มีคู่นอนติดเชื้อเอชไอวี (รักษาอย่างดีและรับผิดชอบสูงด้วย) ว่าหากพลั้งเผลอมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยาง โอกาสติดจะสูงไหม ... ไม่ได้เจตนาพิสูจน์ (อันนั้นต้องทำ control trial ซึ่งไม่น่าจะผ่านกรรมการวิจัย) ว่า กลุ่มหนึ่งสด กลุ่มหนึ่งไม่สด จะติดเชื้อต่างกันไหม

2. จากข้อแรก เพราะคู่นอนทุกคนจะได้รับคำแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์โดยสวมถุงยางเสมอ แต่มนุษย์คือมนุษย์ มันมีวันพลาดหรือวันแหกกฎ การศึกษานี้เขาจึงให้คนที่รู้ตัวว่าไม่ได้สวม รายงานตัวเอง ซึ่งนับว่าไม่มากหากเทียบกับ การมีเพศสัมพันธ์แบบสวมถุง นั่นคือ เขาไม่ได้เจตนาให้ "สด"

3. จากข้อสาม พวกที่พลาดไม่สวมถุง เขามีมาตรการการรายงานตัวเอง มีการใช้ PEP คือการให้ยาหลังสัมผัส และคนกลุ่มนี้ก็มีการใช้ PrEP คือ การให้ยาก่อนสัมผัสด้วย เรียกว่ามีมาตรการกันพลาด ไม่ใช่นึกจะสดก็สด นึกจะใส่ก็ใส่ แล้วดูว่าพวกที่พลาด มีมาตรการรองรับ คนกลุ่มนี้ จะยังติดเชื้อไหม

4. คู่นอนที่เป็นผู้ติดเชื้อ เขาได้รับการรักษาที่ดีมาก สุดยอดมาก ตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ เป็นจุดที่การศึกษาบอกว่า ถ้าคุณติดเชื้อ รู้สถานะติดเชื้อ การเข้ารับการรักษาอย่างดี ไม่ได้เซฟแค่ตัวคุณ ยังเซฟคู่นอน ลดการแพร่กระจายเชื้อ เพราะคนเราผิดพลาดพลั้งเผลอกันได้ ตามข้อ 2 และ 3

5. การศึกษานี้ติดตามโดยเฉลี่ย แค่ 2 ปี แต่การมีเซ็กซ์มันไม่หยุดแค่สองปี มันมีไปตลอด ไม่สามารถแปลว่า โอกาสติดในช่วงสองปีนี้เป็นศูนย์ แล้วต่อไปจะสดได้ตลอดชีวิต ยิ่งนานออกไป จำนวนครั้งที่มีเพศสัมพันธ์มาก โอกาสที่สดแล้วติดจะเพิ่มขึ้น แต่การศึกษานี้ไม่ได้ขยายไปถึงนั้น

6. อย่าลืมว่าการศึกษามุ่งเน้นให้เห็นปรัชญาของการรักษา "treatment as a prevention" คือหากพบว่าเป็นแล้วเข้ารับการรักษาทันทีและรักษาอย่างดี การแพร่กระจายเชื้อจะลดลงมาก การรักษาจึงเป็นการป้องกัน .... ห้ามไปคิดว่ารักษาดีแล้ว สดได้ ขายได้

7. คู่นอนที่ติดเชื้อ มีการพิสูจน์ทางพันธุกรรมว่าไม่ได้เป็นเชื้อชนิดเดียวกับคู่ของตน แต่น่าจะเกิดจากรับเชื้อจากคนอื่น คือไปมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นแบบสดนั่นแหละ ..ยิ่งตอกย้ำว่า กรุณาอย่าสด ต้องสวมถุงยางเสมอ คุณอุตส่าห์รอดจากการติดเชื้อจากคู่รักของคุณ ยังไปแสวงหาเชื้อจากคนอื่นอีก (โดยการไม่สวมถุง)

8. การศึกษา PARTNER ตีพิมพ์อ่านฟรีใน the Lancet อ่านแล้วจับประเด็นให้ถูก วางอุเบกขา แปลงานวิจัยและวิเคราะห์ตามเหตุผล ไม่ใช่เข้าข้างตัวเอง ถ้าแปลผิดไป เสียดายแรงกายแรงใจของคนทำวิจัย

ทางที่ดีที่สุดในการมีเพศสัมพันธ์คือการใส่ถุงยางอนามัยเพราะนอกจากจะช่วยป้องกัน HIV ได้แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคอื่น ๆ เช่น หนองใน เริม ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น

เครดิตแหล่งข้อมูล : อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว

ไขประเด็นดราม่า ผู้ป่วย HIV ที่ผลตรวจ U=U มีเพศสัมพันธ์ไม่ใส่ถุงยางได้จริงหรือ?

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์